การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
ธนาคารมีนโยบายจ่ายเงินปันผลในอัตราไม่ต่ำกว่าร้อยละ 30 ของกำไรสุทธิตามงบการเงินรวมโดยจะพิจารณาถึงผลตอบแทนแก่ผู้ถือหุ้นในระยะยาว ทั้งนี้เงินปันผลจะจ่ายในปีใดก็ตามที่ธนาคารมีกำไรหลังจากการกันสำรองตามกฎหมายและการกันสำรองอื่นที่จำเป็นได้ครบถ้วนแล้ว รวมทั้งไม่มีผลขาดทุนสะสมและสามารถดำรงเงินกองทุนได้เพียงพอตามกฏหมายภายหลังการจ่ายเงินปันผลแล้ว
ภายใน 1 เดือน นับจากวันที่ที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติอนุมัติ หรือ วันที่ที่คณะกรรมการธนาคารมีมติอนุมัติ
ธนาคารจะพิจารณาการจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลตามความเหมาะสม
เงินปันผลสำหรับหุ้นบุริมสิทธิและหุ้นสามัญจากผลประกอบการ 5 ปีที่ผ่านมาสามารถดูได้จากประวัติการจ่ายเงินปันผลโดยเลือก เกี่ยวกับ SCB > นักลงทุนสัมพันธ์ > ข้อมูลหุ้นธนาคารไทยพาณิชย์ > ประวัติการจ่ายเงินปันผล
ธนาคารจ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหุ้น 2 วิธี คือ โอนเงินปันผลเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารและจ่ายเป็นเช็ค
การจ่ายเงินปันผลเข้าบัญชีเงินฝากธนาคาร โดยผ่านเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ ที่เรียกว่า "System for Managing Automated Retail Funds Transfer (SMART)" หรือที่เรียกกันว่าบริการ e-Dividend จะลดปัญหาเรื่องเช็คเงินปันผลส่งไม่ถึงมือผู้ถือหุ้น และเพิ่มศักยภาพของธนาคารในการจ่ายเงินปันผล โดยผู้ถือหุ้นจะได้รับประโยชน์ ดังนี้
1. สะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย โดยผู้ถือหุ้นจะได้รับเงินปันผลตรงตามเวลาที่กำหนด
2. ลดระยะเวลาและค่าใช้จ่ายที่ผู้ถือหุ้นต้องนำเช็คเงินปันผลไปเข้าบัญชี เพื่อนำส่งเข้ามาเรียกเก็บเงินกับธนาคาร
3. ผู้ถือหุ้นยังคงได้รับหนังสือรับรองหักภาษี ณ ที่จ่ายและหนังสือแจ้งนำเงินปันผลเข้าบัญชีทางไปรษณีย์ลงทะเบียนเหมือนเดิม
ปัจจุบันธนาคารเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราร้อยละ 30 ดังนั้น ผู้ถือหุ้นที่ได้รับเงินปันผลสามารถเครดิตภาษีได้ในอัตรา 3/7
1. กรณีบริษัทที่ธนาคารมีอำนาจควบคุมอย่างเต็มที่ ให้กำหนดนโยบายการจ่ายเงินปันผลให้มากที่สุดจากกำไรสุทธิ หลังจัดสรรเป็นทุนสำรองตามกฎหมาย หรือตามความจำเป็นในการดำเนินธุรกิจ
2. กรณีบริษัทที่ธนาคารมีอำนาจควบคุม ตามสัดส่วนการถือหุ้นการกำหนดนโยบายจ่ายเงินปันผล ขึ้นกับนโยบายของบริษัทที่ประกาศไว้และต้องสอดคล้องกับกฎและระเบียบที่เกี่ยวข้อง
การประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปีจะจัดภายใน 4 เดือน นับแต่วันสิ้นสุดของรอบปีบัญชีของธนาคาร (31 ธันวาคม)
1. ผู้ถือหุ้นสามารถมอบฉันทะให้บุคคลอื่นเข้าร่วมประชุมและออกเสียงลงคะแนนในที่ประชุมผู้ถือหุ้นแทนได้ โดยทำเป็นหนังสือมอบฉันทะตามแบบที่กฎหมายกำหนด และให้ผู้รับมอบฉันทะนำหนังสือมอบฉันทะไปยื่นต่อเจ้าหน้าที่ของธนาคาร ณ สถานที่ประชุม ก่อนจะเข้าประชุม
2. ผู้ถือหุ้นสามารถมอบฉันทะให้กรรมการอิสระของธนาคารเป็นผู้รับมอบฉันทะ โดยระบุชื่อลงในหนังสือมอบฉันทะที่ธนาคาร จัดส่งไปให้ผู้ถือหุ้น พร้อมกับหนังสือบอกกล่าวเรียกประชุม และนำส่งมาให้ธนาคารก่อนวันประชุมผู้ถือหุ้น
ผู้ถือหุ้นสามารถติดต่อขอรับเอกสารได้ที่ งานผู้ถือหุ้นและสนับสนุน สำนักงานบริหารงานกรรมการและผู้ถือหุ้น
ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) เลขที่ 9 ถ.รัชดาภิเษก แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
โทรศัพท์ 02-544-4217-8 หรือ Download ที่ Website: http://www.scb.co.th > เกี่ยวกับ SCB >นักลงทุนสัมพันธ์ > ประชุมผู้ถือหุ้น
ประเภทหลักทรัพย์ | กระดานในประเทศ | กระดานต่างประเทศ | |||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
การดานซื้อขาย | Reuters | Bloomberg | การดานซื้อขาย | Reuters | Bloomberg | ||
หุ้นสามัญ | SCB | SCB9 | SCB TB | SCB-F | SCB8 | SCB/F TB | |
หุ้นบุริมสิทธิ | SCB-P | SCP0 | SCB/P TB | SCB-Q | SCBP8 | QCB/Q TB |
ปัจจุบันบุริมสิทธิของหุ้นบุริมสิทธิได้สิ้นสุดลง ตั้งแต่วันที่ 10 พฤษภาคม 2552 ดังนั้น ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิจะได้รับสิทธิเป็นอย่างเดียวกันกับหุ้นสามัญ
หุ้นบุริมสิทธิจะยังคงสภาพเป็นหุ้นบุริมสิทธิต่อไปจนกว่าผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิจะมายื่นความจำนงขอใช้สิทธิแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญ อย่างไรก็ตามในปัจจุบันหุ้นบุริมสิทธิที่ซื้อขายอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ มีสภาพคล่องน้อยและจะลดลงเรื่อย ๆ เนื่องจากผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิมาใช้สิทธิแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญ ทำให้ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิที่ต้องการจะขายหุ้นทำได้ยากมากขึ้น
การแปลงสภาพหุ้นบุริมสิทธิเป็นหุ้นสามัญทำได้ทุก ๆ 3 เดือน โดยมีรายละเอียดดังนี้
ระยะเวลาการใช้สิทธิ: | 1. การใช้สิทธิวันที่ 31 มีนาคม ให้แสดงความจำนงวันที่ 16-30 มีนาคม |
อัตราการใช้สิทธิ: | หุ้นบุริมสิทธิ 1 หุ้น : หุ้นสามัญ 1 หุ้น |
สถานที่ใช้สิทธิ: | 1. ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ฯ หรือ 2. บริษัทหลักทรัพย์ที่เป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ (Broker) |
ภายใน 30 วันนับจากวันใช้สิทธิ ผู้ถือหุ้นสามารถตรวจสอบได้ 2 วิธี คือ
1. กรณีที่ผู้ถือหุ้นมีบัญชีซื้อขายหุ้นอยู่กับ บริษัทนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ (Broker) สามารถตรวจสอบได้กับ Broker ของตนเอง
2. กรณีที่ผู้ถือหุ้นถือเป็นใบหุ้น สามารถตรวจสอบได้ที่ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ฯ ซึ่งเป็นนายทะเบียนหุ้นของธนาคาร โทรศัพท์ 02-229-2888
การซื้อหรือขายหุ้นของธนาคารที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ สามารถติดต่อขอเปิดบัญชีซื้อขายหุ้นกับ บริษัทนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ (Broker) ที่เป็นสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์ฯ อาทิ บริษัทหลักทรัพย์ไทยพาณิชย์ จำกัด (“SCBS”) เลขที่ 19 อาคาร 3 ชั้น 20-21, และเลขที่ 101 อาคาร RCP ชั้น G ไทยพาณิชย์ ปาร์ค พลาซ่า ถนนรัชดาภิเษก แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์ 02-949-1000 Website: http://www.scbs.co.th
บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด (“ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ฯ”) เลขที่ 62 อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ถนนรัชดาภิเษก เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110
โทรศัพท์ 02-229-2888 Website: http://www.tsd.co.th
ผู้ถือหุ้นสามัญและผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิของธนาคาร สามารถติดต่อขอรับบริการงานทะเบียนหุ้นกับศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ฯ ได้ ดังนี้
- โอนหุ้น (โอนหุ้นมรดก, โอนหุ้นผู้เยาว์, โอนหุ้นผู้อนุบาล, โอนหุ้นผู้ไร้ความสามารถ)
- ขอออกใบหุ้นใหม่แทนใบหุ้นที่สูญหาย
- ขอออกใบหุ้นใหม่แทนใบหุ้นเดิมที่ชำรุด
- ขอแยก/รวมใบหุ้น
- ขอเปลี่ยนใบหุ้น Par 100 เป็นใบหุ้น Par 10
- ขอแก้ไขข้อมูลผู้ถือหุ้น (ชื่อ-นามสกุล, ที่อยู่, การรับเงินปันผล ฯลฯ)
- ตรวจสอบข้อมูลการถือหุ้น
- ขอรับเงินปันผล
- แปลงสภาพหุ้นบุริมสิทธิเป็นหุ้นสามัญ
บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เลขที่ 62 อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ถนนรัชดาภิเษก เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 โทรศัพท์ 02-229-2888 หรือ Download ที่ Website: http://www.tsd.co.th
สัดส่วนเพดานการถือหุ้นธนาคารของบุคคลสัญชาติต่างด้าวขณะนี้อยู่ที่ร้อยละ 45.81 (หุ้นสามัญและหุ้นบุริมสิทธิ) ของทุนจดทะเบียนที่เรียกชำระแล้ว ซึ่งหากผู้ลงทุนต้องการทราบสัดส่วนการถือหุ้นธนาคารของบุคคลสัญชาติต่างด้าวล่าสุด สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ฯ ซึ่งเป็นนายทะเบียนหุ้นของธนาคาร โทรศัพท์ 02-229-2888
รอบระยะเวลาบัญชีของธนาคารเริ่มต้นวันที่ 1 มกราคม และสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม ของทุกปี
- รายการย่อแสดงสินทรัพย์และหนี้สิน หรือ ธ.พ.1.1 จะประกาศภายใน 25 วันนับจากวันสิ้นเดือน
- งบดุลและงบกำไรขาดทุนของธนาคารและงบการเงินรวมโดยย่อจะประกาศภายใน 25 วันหลังสิ้นสุดไตรมาส พร้อมกันนี้ ธนาคารจะจัดทำรายงานคำอธิบายและวิเคราะห์งบการเงิน (MD&A) ประกอบการเผยแพร่งบดังกล่าวด้วย
- งบดุล งบกำไรขาดทุนของธนาคารและงบการเงินรวมที่ผ่านการตรวจสอบ/สอบทานจะประกาศภายใน 45 วัน หลังสิ้นสุดไตรมาสที่หนึ่ง และไตรมาสที่สามและ 60 วันหลังสิ้นสุดไตรมาสที่สอง (งวดครึ่งปี) และไตรมาสที่สี่ (ประจำปี)
ก่อนการประชุมผู้ถือหุ้น ผู้ถือหุ้นจะได้รับรายงานประจำปี (รูปแบบแผ่น CD) ซึ่งมีงบการเงินประจำปีหลังการตรวจสอบและสรุปงบการเงินย่อจัดส่งไปให้พร้อมหนังสือบอกกล่าวเชิญประชุมผู้ถือหุ้น นอกจากนี้ผู้ถือหุ้นสามารถติดต่อขอรายงานประจำปีรูปเล่มได้ที่ สายนักลงทุนสัมพันธ์ โทรศัพท์ 02-544-4206, 02-544-4269 E-mail: investor.relations@scb.co.th
สำหรับรายการย่อแสดงสินทรัพย์และหนี้สินหรือ ธ.พ.1.1 และงบประจำไตรมาสผู้ถือหุ้นสามารถเข้ามาดูได้ที่ http://www.scb.co.th/ หรือ Website ของตลาดหลักทรัพย์ http://www.set.or.th